ลากับจิ้งหรีด
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

 นิทานสอนลูกหลานให้ฉลาดได้อย่างไร
เรื่องราวในนิทานแต่ละเรื่องผู้แต่งหรือผู้เล่าจะสอดแทรกข้อคิด ข้อเตือนใจและสาระที่แฝงไว้ให้เราได้เก็บมาคิดเป็นคติสอนใจและส่งเสริมสติปัญญา
 ในหลากหลายแง่มุมที่จะปรับมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวืต ในชีวิตประจำวันของเราได้
แต่การอ่านนิทานให้ได้ประโยชน์ผู้อ่านจะต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ว่าแก่นแท้ของแต่ละเรื่องมุ่งสอนข้อคิด อะไรแก่เรา
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วก็จะเห็นว่านิทานแต่ละเรื่องมักจะแสดงแง่มุมสองด้านที่ตรงกันข้ามเสมอ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างดีกับไม่ดี
ชั่วกับเลว  ฉลาดกับเขลา ควรทำกับไม่ควรทำ เป็นต้น
ดังนิทานที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ หวังว่าการอ่านนิทานครั้งนี้จะสามารถทำให้ท่านได้รับประโยชน์มากกว่าความสนุกเพลิดเพลินอย่างเดียว

 

เสียงสัมผัสในกลอน 
กลอนเสภา 
กลอนดอกสร้อย 
กลอนสักวา 

 

ลากับจิ้งหรีด
|กาลครั้งนั้นยังมีลาตัวหนึ่ง
สุดซาบวึ้งเพลงจิ้งหรีดที่กรีดเสียง
ฟังไพเราะเสนะรับจับสำเนียง
ติดตรึงเพียงเคลิ้มฝันบันดาลใจ
จึงตั้งใจไปถามความจิ้งหรีด
ว่าที่กรีดเสียงหวานล้ำทำไฉน
 ฉัันอยากมีเสียงเช่นท่านกังวานไพร
กินอะไรเสียงไพเราะเพราะทุกวัน
 จิ้งหรีดตอบวาจาท่านลาหล่อ
พวกฉัันก็กินน้ำค้างกลางไพรสัณฑ์
จึงมีเสียงไพเราะแท้แต่คราบรรพ์
พร้อมใจกันบรรเลงเพลงกล่อมไพร
ลาจึงเพียรกินน้ำค้างกลางไพสาณฑ์
อยู่เนิ่นนานก็ผอมแห้งสุดแรงไหว
จนกระทั่งผอทอนาถล้มขาดใจ
เพราะหลงใฝ่ในเรื่องเปลืองตัวเอง
                                         ไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี

 

..

ข้อเปรียบเทียบ
ลา   ความเขลา
เสียงจิ้งหรีด    สิ่งยั่วยวน

บทวิเคราะห์
๑.อย่าหลงงมงายกับสิ่งยั่วยวนต่างๆมากเกินไป
๒.บางสิ่งบางอย่างไม่สามารถเลียนแบบกันได้
๓.ต้องยอมรับความสามารถของผู้อื่นว่า
มีความสามารถไม่่เหมือนใคร
คำศัพท์

บันดาล  
เคลิ้ม
ไพรสัณฑ์
บรรพ์
ไพรสาณฑ์

 

 

 

 

 

.จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี . และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.